Ep. 6 นาโนทริโบอิเล็กทริก: แหล่งกำเนิดไฟฟ้าขนาดจิ๋วแต่แจ๋ว

สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทความโดย รศ. ดร.วิยะดา หาญชนะ และคณะ

ทีมนักวิจัยจากสาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น เผยแนวทางการพัฒนาวัสดุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าของแหล่งกำเนิดไฟฟ้านาโนทริโบอิเล็กทริกของวัสดุเทฟลอนให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมถึงเกือบ 30 เท่า!!!

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการปรับปรุงพื้นผิววัสดุพอลิเมอร์เทฟลอนด้วยเทคนิคพลาสมาแบบสองขั้นตอน โดยใช้แก๊สออกซิเจนและอาร์กอนแทนการใช้แก๊สเตตระฟลูออโรมีเทน (CF4) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยโครงสร้างในระดับนาโนที่เกิดขึ้นจากเทคนิคพลาสมาสามารถเพิ่มพื้นที่ผิวของเทฟลอนให้มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ความหนาแน่นประจุทริโบอิเล็กทริกสูงขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าของแหล่งกำเนิดไฟฟ้านาโนทริโบอิเล็กทริกของวัสดุเทฟลอนนี้สูงกว่าเดิมถึงเกือบ 30 เท่า แหล่งกำเนิดไฟฟ้านาโนทริโบอิเล็กทริกที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากการเคลื่อนไหวเชิงกลต่าง ๆ เช่น การเหยียบ หรือ การเดิน เป็นต้น เพื่อกักเก็บและให้พลังงานแก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสามารถใช้เป็นเซ็นเซอร์คีย์บอร์ดได้


Share this post